location="?w="+screen.width;

ผ้า Cotton 100%

ผ้า Cotton 100%


เป็นผ้าที่เกิดจากเส้นใยฝ้าย(เป็นเส้นใยธรรมชาติ 100%) นำมาปั่นให้เป็นเส้นด้าย แล้วนำมาทอเป็นผืนผ้า ซึ่งคุณภาพของผ้าจะแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การเรียงตัวกันของเส้นด้าย ความหนาของเส้นด้าย และอาจเป็นที่ความบริสุทธิ์ของเส้นด้าย เป็นต้น โดยที่ถ้าจะแบ่งคุณภาพของผ้า Cotton ตามท้องตลาดทั่วไป สามารถแบ่งได้ดังนี้

1.การแบ่งตามชนิดของเบอร์เส้นด้าย สามารถจำแนกได้ 3 เบอร์ ดังนี้


1.1 Cotton 100% ที่ใช้เส้นด้าย No.20 ถือเป็นเส้นด้ายที่มีขนาดใหญ่กว่าเส้นด้ายเบอร์ 32 ลักษณะเนื้อผ้าจึงมีความหนาและแข็งกว่าผ้าCotton 100% เบอร์32 
1.2 Cotton 100% ที่ใช้เส้นด้าย No.32 มีลักษณะนุ่ม และใส่สบายกว่า เบอร์ 20 จึงนิยมใช้ทำเป็นเสื้อยืดมากกว่า แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน
1.3 Cotton 100% ที่ใช้เส้นด้าย No.40  ซึ่งถือเป็นเส้นด้ายที่มีขนาดเล็กมาก ส่วนใหญ่จึงต้องสั่งทอพิเศษ เพราะต้องอาศัยการผลิตจากเครื่องจักรและเป็นการผลิตที่ยุ่งยากและสลับซับซ้อน ทำให้มีต้นทุนการผลิตที่สูง ดังนั้น หากเรานำมาผลิตเสื้อยืดก็จะทำให้มีต้นทุนที่สูงตาม จึงยังไม่เป็นที่พบเห็นในท้องตลาดเท่าที่ควร 

2.การแบ่งตามกระบวนการผลิตเส้นด้าย


เป็นการแบ่งตามคุณภาพของการเรียงตัวของเส้นด้าย ที่วัดจากสม่ำเสมอ ความหนาแน่น และความสะอาดของเส้นใย เพื่อได้เส้นด้ายที่มีคุณสมบัติที่ดีเมื่อนำไปทอเป็นผืน โดยการแบ่งคุณภาพดังกล่าวนี้ เราจะเริ่มกันตั้งแต่ กระบวนการผลิต / พันธุ์ของฝ้ายที่ลือกใช้ / การคัดแยกคุณภาพหลังเก็บเกี่ยว ส่งผลให้ได้เกรดผ้าฝ้าย 3 เกรด ดังนี้
2.1 Cotton OE เป็นผ้าที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการคัดคุณภาพของเส้นใยฝ้าย ทำให้ผ้าชนิดนี้มีความทนทานค่อนข้างต่ำ ขาดง่าย
2.2 Cotton Semi เป็นผ้าที่ได้จากการผ่านกระบวนการคัดคุณภาพของเส้นใยฝ้าย โดยวิธีการสางเส้นใยฝ้ายโดยใช้เครื่องจักร ทำให้ได้เส้นด้ายใยสั้นที่มีขนาดเบอร์20-32  ซึ่งทำให้ผ้ามีความนุ่มขึ้นกว่า OE
2.3 Cotton Comb เป็นการคัดคุณภาพของเส้นใยโดยวิธีการหวีเส้นใยด้วยเครื่องจักร ซึ่งถือเป็นกระบวนการที่มีความละเอียดและซับซ้อนกว่าแบบสาง ส่งผลให้ได้เส้นด้วยที่มีขนาดเล็ก (คือเบอร์32ขึ้นไป) อีกทั้งกระบวนการดังกล่างยังสามารถขจัดสิ่งสกปรกออกจากเส้นใยได้มาก จึงได้เส้นด้ายที่มีเส้นใยยาวกว่า เมื่อนำมาทอผ้าเป็นผืน จึงได้ผ้าที่มีเนื้อนุ่ม เหนียว และทนทานขาดยากกว่ากว่า OE และ Semi

 

บทความน่ารู้: https://klipple.com